top of page

TU-GET คืออะไร? สรุปข้อมูลการสอบ TU-GET พร้อมอัพเดทตารางสอบ TU-GET (PBT & CBT) ปี 2566

Updated: Apr 12, 2023


ตารางสอบ TU-GET (PBT) ปี 2023 tu get คืออะไร เข้าที่ไหนได้บ้าง

ถ้าพูดถึงข้อสอบที่ใช้วัดความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ และนำคะแนนยื่นสอบเข้าคณะและมหาวิทยาลัยในไทย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แน่นอนว่าหลายๆคนต้องนึกถึงข้อสอบ TU-GET กันอย่างแน่นอน

แล้วข้อสอบ TU-GET คืออะไร? ใครที่ยังไม่ค่อยมีข้อมูลก็ลองอ่านบทความนี้ดูนะ พี่ได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่ควรรู้เกี่ยวกับ TU-GET ไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น



TU-GET คืออะไร?


TU-GET ย่อมาจาก Thammasat University General English Test

  • ข้อสอบ TU-GET คือ การทดสอบวัดความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ โดยข้อสอบ TU-GET นั้น จัดทำโดยสถาบันภาษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • ผลคะแนนของ TU-GET ใช้ยื่นศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาตรีได้แทบทุกคณะอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เลย และยังใช้คะแนนยื่นในระดับปริญญาโทได้ด้วยนะ (ดูเกณฑ์คณะอินเตอร์ มธ. -- Inter TU Admission Requirements ได้ที่นี่เลย https://www.interboosters.com/tuadmission)

ข้อสอบ TU-GET มีให้เลือกสอบ 2 แบบ คือ

  1. TU-GET (PBT) สอบแบบกระดาษ

  2. TU-GET (CBT) สอบแบบคอมพิวเตอร์





TU-GET ยื่นที่ไหนได้บ้าง?


ผลสอบ TU-GET ใช้ยื่นสมัครที่ไหนได้บ้าง?

คะแนนสอบ TU-GET สามารถใช้ยื่นเข้าคณะอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้หลายคณะเลย

พี่ได้รวบรวมไว้แล้วว่าคณะอินเตอร์ มธ. (Inter TU) คณะไหนบ้างที่น้องสามารถยื่นได้ โดยเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำนี้เป็นเกณฑ์ของรอบ 1 และ รอบ 2 ของปีการศึกษา 2566/2023 นะจ๊ะ



คะแนน TU-GET (PBT) เท่านี้ ยื่นคณะไหนได้บ้าง?

มาดูสรุปเกณฑ์คะแนน TU-GET (PBT) ขั้นต่ำ แต่ละคณะกัน

400 คะแนน

(แบบมีเงื่อนไข*)

450 คะแนน

500 คะแนน

550 คะแนน

PBIC TU

TEP-TEPE TU

PPE TU

DBTM TU​

BIR TU

LLB TU​

BSI TU

BC TU

PBIC TU

TEP-TEPE TU

GSSE TU

PPE TU

SPD TU

CICM TU

(หัวใจและทรวงอก, แพทย์แผนจีน, ทัศนมาตรศาสตร์)

​BBA TU

BE TU

BJM TU

BAS TU

CICM TU (แพทย์, ทันตะ)


*แบบมีเงื่อนไขคือ สามารถยื่นคะแนน TU-GET (PBT) 400 ได้ แต่ถ้าผ่านการคัดเลือกแล้ว จะต้องเรียนปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษตามที่คณะกำหนดก่อนเปิดเรียนเทอมแรก และต้องสอบปรับพื้นฐานผ่านจึงจะมีสิทธิ์เรียนคณะนั้น ๆ







น้องหนุน (เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ) สอบติด BBA TU


"พอได้มาเรียนกับพี่มิ้น ทำให้หนูจับทางข้อสอบได้มากขึ้น คะแนนก็ดีขั้นด้วย หนูชอบหนังสือกับสติ๊กเกอร์ของที่นี่มากกกก ทำให้มีกำลังใจอยากเรียนมากขึ้น คะแนนก็อัพขึ้นด้วย แล้วก็สนุกมากๆ ไม่เครียดเลยค่ะ ขอบคุณพี่มิ้นมากๆ นะคะ"








น้องๆสามารถใช้คะแนน TU-GET ยื่นได้ทุกคณะอินเตอร์ธรรมศาสตร์ (ยกเว้น SIIT) โดยแต่ละคณะมีเกณฑ์ดังนั้น


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า BBA TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 550

  • TU-GET (CBT) ≥ 80


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า BE TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 550

  • TU-GET (CBT) ≥ 80


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า BIR TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า LLB TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า BJM TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 550

  • TU-GET (CBT) ≥ 80


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า BAS TU

รอบ 1 (portfolio)

  • TU-GET (PBT) ≥ 550

  • TU-GET (CBT) ≥ 70

รอบ Admission 1 & 2

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า BSI TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า BC TU

รอบ 1 (portfolio)

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61

>> สาขาภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ TU-GET (CBT) ≥ 70


รอบ Admission 1 & 2 (ทุกสาขาวิชา)

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า PBIC TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61

รอบ Admission 1 (แบบมีเงื่อนไข)

  • TU-GET (PBT) ≥ 400

  • TU-GET (CBT) ≥ 32

คะแนน TU-GET ยื่นเข้า TEP-TEPE TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61

รอบ Admission 1 (แบบมีเงื่อนไข)

  • TU-GET (PBT) ≥ 400

  • TU-GET (CBT) ≥ 32


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า GSSE TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า PPE TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

(แบบมีเงื่อนไข TU-GET (PBT) ≥ 400)



คะแนน TU-GET ยื่นเข้า SPD TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า DBTM TU

  • TU-GET (PBT) ≥ 450

  • TU-GET (CBT) ≥ 45


คะแนน TU-GET ยื่นเข้า CICM TU

หลักสูตรแพทยศาสตร์ และ หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์

  • TU-GET (PBT) ≥ 550

  • TU-GET (CBT) ≥ 79

หลักสูตรเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก, หลักสูตรการแพทย์แผนจีน, หลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์

  • TU-GET (PBT) ≥ 500

  • TU-GET (CBT) ≥ 61

(แบบมีเงื่อนไข TU-GET (PBT) ≥ 400, TU-GET (CBT) ≥ 32)



นอกจากนี้ บางคณะอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็สามารถยื่นคะแนน TU-GET ได้ด้วยนะ ไม่ได้ยื่นได้แค่มธ.

คณะอินเตอร์มหาวิทยาลัยอื่น ที่รับคะแนน TU-GET เช่น

- คณะเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)​ ม.เกษตร (BEcon KU)

รับคะแนน TU-GET (PBT) ≥ 500

- คณะวิศวะ อินเตอร์ ม.ขอนแก่น

รับคะแนน TU-GET (PBT) ≤ 401, TU-GET (CBT) ≤ 62

- คณะเภสัช อินเตอร์ ม.ขอนแก่น

รับคะแนน TU-GET (PBT) ≥ 500, TU-GET (CBT) ≥ 74

- คณะบริหารธุรกิจ อินเตอร์ ม.ขอนแก่น

รับคะแนน TU-GET (PBT) ≥ 450



 


TU-GET (PBT) คืออะไร?


TU-GET Paper-based (PBT) คือ การสอบแบบเบสิคทั่วไปที่เป็นการสอบแบบมีกระดาษคำถามและกระดาษคำตอบ

ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน ปัจจุบัน TU-GET (PBT) มีให้เลือกสอบทั้งแบบ online และ onsite

ข้อสอบแบ่งเป็น 3 พาร์ท คือ


Part 1 - Writing ability มี 25 ข้อ (250 คะแนน)

  • Error identification คือ ข้อสอบที่ในแต่ละข้อจะมีประโยคยาวๆมาหนึ่งประโยค ให้เราหาจุดที่ผิดจากหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ -- มี 13 ข้อ (ข้อสอบส่วนนี้ของ TU-GET คล้ายกับพาร์ท writing ของข้อสอบ CU-TEP มากๆๆ)

  • Sentence completion คือ ข้อสอบที่ให้เติมประโยคให้สมบูรณ์ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เป็นคำถามปรนัยที่มีคำตอบให้เลือกตอบ -- มี 12 ข้อ


ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) : Error Identification

ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) - structure - error identification


ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) : Sentence Completion

ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) - structure - sentence completion

 

Part 2 - Vocabulary มี 25 ข้อ (250 คะแนน)

  • Cloze คือ ข้อสอบที่เว้นช่องว่างให้เติมคำศัพท์ที่ถูกต้อง โดยเลือกจากคำศัพท์ที่กำหนดให้ ซึ่งคำศัพท์ที่เป็นตัวเลือกบางครั้งก็ความหมายใกล้เคียงกันมากๆ ต่างกันที่บริบทการใช้ เพราะฉะนั้นต้องแม่นศัพท์พอสมควรเลย -- มี 15 ข้อ

  • Synonyms คือ ข้อสอบที่ให้เลือกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำที่ขีดเส้นใต้ในประโยค พาร์ทนี้ก็วัดความแม่นศัพท์อีกเหมือนกัน เราต้องรู้ synonyms ที่ออกสอบบ่อยเยอะๆ ใครคลังศัพท์เยอะก็ได้เปรียบ-- มี 10 ข้อ


ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) : Cloze

ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) - vocabulary - cloze

ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) : Synonyms

ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) - vocabulary - synonyms

 

Part 3 - Reading มี 50 ข้อ (500 คะแนน)

พาร์ท Reading มีจำนวนข้อเยอะที่สุด คะแนนเยอะที่สุด และต้องอ่านเยอะที่สุดเช่นกัน จึงนับได้ว่าเป็นพาร์ทที่สำคัญมากๆเลย เพราะคะแนนเต็มของพาร์ทนี้คิดเป็น 50% ของคะแนนทั้งหมดเลยทีเดียว ซึ่งในข้อสอบจะมีบทความมาให้เราอ่านหลาย passages เนื้อหาบทความหลากหลาย ทั้งวิชาการ วิทยาศาสตร์ สังคม สิ่งแวดล้อม มาหมด แล้วแต่ว่าเราจะเจอแบบไหน สิ่งที่น้องต้องมีคือ ทักษะการอ่านจับใจความ และทักษะการอ่านด้านต่างๆของเรา เช่น การหา main idea, detail information, pronoun reference, inference และ conclusion เป็นต้น

ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) - reading

ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) - reading


ตารางสอบ TU-GET (PBT) ปี 2566

วันสอบ TU-GET (PBT) 2023

**เปิดรับสมัครทุกวันที่ 1-10 ของทุกเดือน**

เดือนมกราคม

เดือนกุมภาพันธ์

เดือนมีนาคม

เดือนเมษายน

เดือนพฤษภาคม

​เดือนมิถุนายน

​สอบ Online

เสาร์ 21 ม.ค. 66

เสาร์ 28 ม.ค. 66

*ไม่มีสอบ Onsite

​สอบ Online

เสาร์ 18 ก.พ. 66

สอบ Onsite

อาทิตย์ 26 ก.พ. 66

​สอบ Online

เสาร์ 18 มี.ค. 66

เสาร์ 25 มี.ค. 66

*ไม่มีสอบ Onsite

​สอบ Online

เสาร์ 22 เม.ย. 66

สอบ Onsite

อาทิตย์ 30 เม.ย. 66

​​สอบ Online

เสาร์ 20 พ.ค. 66

เสาร์ 27 พ.ค. 66


*ไม่มีสอบ Onsite

​สอบ Online

เสาร์ 17 มิ.ย. 66


สอบ Onsite

อาทิตย์ 25 มิ.ย. 66

สอบ TU-GET (PBT) แบบ online — มีให้เลือกสอบ 2 รอบ คือ รอบเช้า 9.00 - 12.00 น และ รอบบ่าย 13.00 - 16.00 น.

สอบ TU-GET (PBT) แบบ onsite — มีให้เลือกสอบ 1 รอบ คือ รอบเช้า 9.00 - 12.00 น.

ค่าสมัครสอบ TU-GET (PBT)

>>> ค่าสมัครสอบ 500 บาท สมัครผ่านเว็บไซต์เท่านั้น โดยเปิดรับสมัครเป็นรอบๆ และไม่สามารถสมัครล่วงหน้าได้ (เปิดรับสมัครทุกวันที่ 1-10 ของทุกเดือน)

** สามารถสมัครสอบหลังวันที่10 ได้ (สมัครแบบล่าช้า) คือหลังจากปิดรับสมัครวันที่ 10 ไปแล้ว ถ้ายังมีที่นั่งสอบเหลืออยู่ สามารถสมัครสอบได้แต่ต้องเสียค่าสมัครสอบ 700 บาท


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://litu.tu.ac.th/public/view/post/37/567



การเตรียมตัวและขั้นตอนการสอบ TU-GET (PBT) แบบออนไลน์

สิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนสอบ

  1. คอมพิวเตอร์, โน้ตบุก หรือ แท็บเล็ต 1 เครื่อง สำหรับทำข้อสอบ

  2. โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์ที่มีกล้อง 1 เครื่อง สามารถเข้าโปรแกรม zoom เพื่อบันทึกภาพผู้สอบขณะทำข้อสอบ

  3. สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่มีความเสถียร

  4. กระดาษ A4 1 แผ่น

  5. ปากกา 1 ด้าม

  6. บัตรประชาชน

***ห้องที่ใช้ในการทำข้อสอบ ด้านหน้าของผู้สอบต้องเป็นผนังทึบ ไม่มีกระจก ไม่มีบุคคลอื่นในห้องตอนสอบ และไม่มีเสียงรบกวน


>>> 1 วันก่อนสอบ เจ้าหน้าที่จะส่งลิงก์ zoom สำหรับเข้าห้องสอบ พร้อมคู่มือการสอบไปยังอีเมลที่น้องลงทะเบียนไว้ในระบบ


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่



ภาพตัวอย่างระบบการทำข้อสอบ TU-GET (PBT) ออนไลน์

มีเวลาให้ทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง โดยน้องจะเลือกทำ part ไหนก่อนก็ได้ เมื่อทำข้อสอบเสร็จหมดแล้วให้กดปุ่ม "Finish" เพื่อส่งคำตอบ




 

TU-GET (CBT) คืออะไร?

TU-GET Computer-based (CBT) คือ การสอบผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (สอบ speaking ก็ผ่านระบบคอมพิวเตอร์นะ)

ข้อสอบมีทั้งหมด 62 ข้อ คะแนนเต็ม 120 คะแนน แบ่งเป็น 4 พาร์ท คือ

  1. Reading 30 ข้อ 45 นาที (30 คะแนน)

  2. Listening 30 ข้อ 60 นาที (30 คะแนน)

  3. Speaking 1 ข้อ 10 นาที (30 คะแนน)

  4. Writing 1 ข้อ 40 นาที (30 คะแนน)

>> ผลสอบของ TU-GET (CBT) สามารถนำไปเทียบเคียงกับคะแนน TOEFL (iBT) ได้ โดยคะแนนสอบของ TU-GET (CBT) และคะแนน TOEFL (แบบเทียบเท่า) จะระบุในใบรายงานผลสอบ <<


น้องสามารถโหลดแอปพลิเคชัน ชื่อว่า TU-GET CBT ซึ่งจัดทำขึ้นโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อลองทำข้อสอบ และดูแนวข้อสอบของ TU-GET ได้ กดลิ้งนี้เพื่อโหลดแอปเลย>> https://play.google.com/store/apps/details?id=com.tu.tuget




ตารางสอบ TU-GET (CBT) ปี 2566


**เปิดรับสมัครทุกวันที่ 11-15 ของทุกเดือน**

​เดือนมกราคม

เดือนกุมภาพันธ์

เดือนมีนาคม

เดือนเมษายน

​สอบ Onsite

อาทิตย์ 22 ม.ค. 66

อาทิตย์ 29 ม.ค. 66

​สอบ Onsite

อาทิตย์ 19 ก.พ. 66

เสาร์ 25 ก.พ. 66

​สอบ Onsite

อาทิตย์ 19 มี.ค. 66

อาทิตย์ 26 มี.ค. 66

​สอบ Onsite

อาทิตย์ 23 เม.ย. 66

เสาร์ 29 เม.ย. 66

สอบ TU-GET (CBT) แบบ onsite — มีให้เลือกสอบ 2 รอบ คือ รอบเช้า 9.00 - 12.00 น และ รอบบ่าย 13.00 - 16.00 น.



ค่าสมัครสอบ TU-GET (CBT)

>>> ค่าสมัครสอบ 1,000 บาท สมัครผ่านเว็บไซต์เท่านั้น โดยเปิดรับสมัครเป็นรอบๆ และไม่สามารถสมัครล่วงหน้าได้ แต่สมัครสอบล่าช้าได้ คือถ้าสมัครสอบล่าช้า คือสมัครหลังหมดช่วงเปิดรับสมัครไปแล้ว ยังสามารถสมัครได้ ถ้ายังมีที่นั่งสอบเหลืออยู่ แต่ต้องเสียค่าสมัครสอบ 1,500 บาท

>>> การสอบแบบ onsite รับสมัครจำนวนจำกัดไม่เกิน 90 ที่นั่งต่อรอบ โดยสอบที่ศูนย์สอบ สถาบันภาษา ชั้น 1 อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ (SC1) ธรรมศาสตร์ รังสิต


คลิกอ่านการเตรียมตัวและขั้นตอนการสอบ TU-GET (CBT) แบบออนไลน์



 


สมัครสอบ TU-GET ยังไง? ค่าสอบเท่าไหร่?


สมัครสอบ TU-GET Paper-based Test (PBT) ได้ที่ : http://tuget.litu.tu.ac.th/pbt

ค่าสอบ TU-GET (PBT) : 500 บาท (ถ้าสมัครสอบล่าช้า คือสมัครหลังหมดช่วงเปิดรับสมัครไปแล้ว ยังสามารถสมัครได้ถ้ายังมีที่นั่งสอบเหลืออยู่ แต่ต้องเสียค่าสมัครสอบ 700 บาท)


สมัครสอบ TU-GET Computer-based Test (CBT) ได้ที่ : http://tuget.litu.tu.ac.th/cbt

ค่าสอบ TU-GET (CBT) : 1,000 บาท (ถ้าสมัครสอบล่าช้า คือสมัครหลังหมดช่วงเปิดรับสมัครไปแล้ว ยังสามารถสมัครได้ถ้ายังมีที่นั่งสอบเหลืออยู่ แต่ต้องเสียค่าสมัครสอบ 1,500 บาท)


ดูรายละเอียดการสมัครสอบ TU-GET เพิ่มเติมได้ที่ >> https://litu.tu.ac.th/public/view/post/37/569



ระยะเวลาประกาศผลคะแนนสอบ

TU-GET (PBT) ประกาศคะแนนในระบบรับสมัคร และส่งผลสอบตัวจริงทางไปรษณีย์หลังจากวันสอบประมาณ 5-7 วัน

TU-GET (CBT) ประกาศคะแนนในระบบรับสมัคร และส่งผลสอบตัวจริงทางไปรษณีย์หลังจากวันสอบประมาณ 15 วัน





สรุป

TU-GET (PBT) และ TU-GET (CBT) ต่างกันยังไง?

​TU-GET (PBT)

TU-GET (CBT)

ข้อสอบแบ่งเป็น 3 พาร์ท คือ writing ability, vocabulary และ reading

ข้อสอบแบ่งเป็น 4 พาร์ท คือ reading, listening, speaking และ writing

คะแนนเต็ม 1,000 คะแนน

คะแนนเต็ม 120 คะแนน

​รูปแบบการสอบ -- มีให้เลือก 2 แบบคือ สอบที่ศูนย์สอบ หรือ สอบออนไลน์

รูปแบบการสอบ -- สอบที่ศูนย์สอบ

ค่าสอบ 500 บาท

ค่าสอบ 1,000 บาท

เปิดสมัครสอบช่วงวันที่ 1-10 ของทุกเดือน

เปิดสมัครสอบช่วงวันที่ 11-15 ของทุกเดือน หรือตามที่ศูนย์สอบกำหนด

ได้ผลสอบภายใน 5-7 วัน หลังจากวันสอบ

ได้ผลสอบภายใน 15 วัน หลังจากวันสอบ

*ผลการสอบ TU-GET ทุกประเภทมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่สอบ


โดยการสอบ TU-GET ทั้งรูปแบบ PBT และ CBT นั้นสามารถใช้ในการวัดความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษได้เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่ตัวผู้สอบนั้นถนัดสอบแบบไหนมากกว่ากัน และคณะที่เราใฝ่ฝัน รับคะแนนสอบแบบไหน



TU-GET ยากไหม? สอบแบบไหนยากกว่ากัน?

ต้องบอกว่า ความยากง่ายต่างกัน ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน เช่น ถ้าเราไม่ถนัด speaking แต่เก่งด้าน grammar ก็ควรสมัครสอบ TU-GET (PBT)


สิ่งสำคัญเลยคือเราต้องหาข้อมูลก่อนว่า มหาวิทยาลัยและคณะที่เราอยากเข้าเรียน รับคะแนน TU-GET แบบไหน หลังจากนั้นจะได้เตรียมตัวสอบได้ตรงจุด


ตัวอย่างข้อสอบ TU-GET (PBT) และ TU-GET (CBT) >> https://litu.tu.ac.th/public/view/post/37/622



 

หวังว่าบทความนี้จะทำให้น้องๆได้รู้จักข้อสอบ TU-GET มากขึ้น และได้รู้ว่าข้อสอบ TU-GET มีทั้งสอบแบบกระดาษและแบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งน้องๆจะเลือกสอบแบบไหนก็แล้วแต่ความถนัดของเราและตามที่คณะกำหนดเนอะ นอกจากนี้ยังได้รู้ว่ารูปแบบของข้อสอบเป็นยังไง มีพาร์ทไหนที่เรายังไม่แม่น ต้องฝึกเพิ่มบ้าง พร้อมทั้งตารางสอบ TU-GET ปี 2566 นี้ด้วย น้องจะได้วางแผนเตรียมตัวสอบได้อย่างเต็มที่


สำหรับน้องที่อยากติวเข้ม ตะลุยโจทย์เพิ่มก่อนไปสอบจริง ก็มาเก็บเทคนิคลับอัพคะแนน TU-GET กับพี่มิ้น เกียรตินิยมอันดับ 1 อักษรจุฬา มาเจอกันได้ในคอร์สออนไลน์รูปแบบ Interactive! เตรียมสอบ TU-GET เพิ่มความมั่นใจ เพิ่มกลยุทธ์อัพคะแนน อัดความรู้แน่นก่อนไปสอบจริงกับ Interboosters กัน รับรองว่าน้องๆจะเรียนสนุก เรียนเข้าใจ ทริคเพียบ คะแนนพุ่งแน่นอน :D

เตรียมสอบ TU-GET ข้อสอบ tu get 2566 คอร์สเรียน tu get 2023

ดูเกณฑ์คณะอินเตอร์ ธรรมศาสตร์ -- เช็ค Inter TU Requirements รอบแรกได้ที่นี่เลย! https://www.interboosters.com/tuadmission


ดูรายละเอียดคอร์สเรียน TU-GET ได้ที่ https://www.interboosters.com/tuget


ดูรายละเอียดคอร์สเรียนทั้งหมดได้ที่ https://www.interboosters.com/courses





Recent Posts

bottom of page